วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

09/05/2556




15 แนวคิดของผู้ประสบความสำเร็จ (จอห์น ซี แมกซ์เวล, How Successful People Think )

“บุคคลที่ประสบความสำเร็จต่างๆของโลกนั้น ล้วนแต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน –พวกเขาคิดต่างจากคนทั่วไป”
1. คิดให้เป็นกิจวัตร การจะเป็นนักคิดที่เก่งจำเป็นต้องมีการฝึกฝนเป็นประจำ
แดน แคธี ซีอีโอของ Chick-fil-A แฟรนไชส์ฟาสต์ฟูดชื่อดังของสหรัฐ จัดเวลาให้ตนเองครึ่งวันทุกๆ 2 สัปดาห์ 1 วันทุกๆ เดือน และ 2-3 วัน ทุกๆ ปี เพื่อคิดตริตรองและวางแผนในเรื่องต่าง
2. ใช้กฏ 80/20 นั่นคือ อุทิศ 80% ของพลังงานทั้งหมดในตัวคุณให้กับ 20% ของกิจกรรมที่สำคัญที่สุด

จำไว้เสมอว่าคุณไม่สามารถอยู่ได้ทุกหนทุกแห่ง รู้จักคนทุกคน ทำอะไรได้ทุกสิ่ง หลีกเลี่ยงการทำหลายๆ กิจกรรมพร้อมกันหากมันทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคุณลดลง
3. เปิดกว้างตนเองแก่ความเห็นที่แตกต่างและเปิดใจแก่ผู้คนหลากหลายประเภท
4.ไอเดียเป็นสิ่งสำคัญ แต่การต่อยอดไอเดียนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน
เตือนตัวเองไว้เสมอว่าไอเดียนั้นไม่มีสารกันบูด จงรีบทำอะไรกับไอเดียดีๆ ที่เราคิดขึ้นมาได้ก่อนที่มันจะหมดอายุไปเสีย
5. ความคิดที่ดีนั้นใช้เวลาในการสร้าง
อย่าเพิ่งลงหลักปักฐานกับสิ่งแรกที่เข้ามาในหัวของคุณ ความคิดที่ดีมักจะต้องมีการปรับแต่งให้มีรูปร่างและผ่านกระบวนการทดสอบมาแล้ว
6. คนฉลาดมักจะชอบทำงานร่วมกับคนฉลาด
การคิดร่วมกันมักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าคล้ายกับเป็นทางลัดให้กันและกัน การระดมความคิดจึงเป็นวิธีการที่เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วให้กับงานต่างๆ
7. ความคิดกระแสนิยมอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีที่สุดเสมอไป
อย่าเพียงทำตามผู้อื่นเพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ใครๆ ได้ไตร่ตรองมาแล้วจึงย่อมจะดีเสมอ ผู้ที่ประสบความสำเร็จมากกว่ากว่าใครๆ นั้นมักคิดอะไรด้วยตนเอง เขาจึงโดดเด่นจากฝูงชน
8. วางแผนหรือกลยุทธ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความผิดพลาด
ให้แตกประเด็นใหญ่เป็นส่วนย่อยๆ เพื่อแยกแยะปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นอย่าลืมตรวจสอบทรัพยากรและเครื่องมือต่างๆ ที่คุณมีและจัดวางมันให้เหมาะสมในการแก้ปัญหา
9. หาเวลาคิดและทำในสิ่งที่แตกต่างอยู่เสมอๆ
ลองทำอะไรในกิจวัตรประจำวันที่คุณยังไม่เคยทำมาก่อนเพื่อการหาประสบการณ์ใหม่ๆ ในชีวิตและหามุมมองกับไอเดียความคิดที่สดใหม่
10. ความคิดคุณไม่มีทางที่จะถูกต้องเสมอไป
ให้โอกาสกับความคิดผู้อื่นบ้าง
11. มีกำหนดการอยู่เสมอ อย่าวางแผนเพียงวันต่อวัน
ควรวางแผนล่วงหน้าระยะยาวให้เป็นนิสัย คิดก่อนว่าจะเรียนรู้เรื่องอะไรจากใคร คนฉลาดจะไม่เข้าสู่การประชุม งานสังสรรค์ หรือการจิบกาแฟพูดคุยอย่างไร้จุดหมาย (ใช้เวลาไปสร้างสรรงานอื่นๆ ดีกว่าเสียเวลาประชุมอะไรที่ไม่มีผลผลิตที่มีค่าพอ)
12. ฝึกฝนการคิดสะท้อน (Reflective Thinking) หรือการคิดหลายแง่มุม
นี่เป็นการคิดเป็นระบบเหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ การคิดที่มาจากการไตร่ตรองแล้วจะทำให้คุณมีความมั่นใจในการตัดสินใจ
13. หลีกเลี่ยงการพูดแง่ลบกับตนเอง จงคิดว่าคุณสามารถทำได้ และคุณจะทำ
คนฉลาดจะไม่เห็นข้อจำกัดต่างๆ แต่ในทางกลับกันเขาจะเห็นโอกาสที่ถูกหยิบยื่นมา
14. มีความคิดสร้างสรร
อุทิศเวลาให้กับการค้นหาไอเดียใหม่ๆ อย่าไปกลัวความคลุมเครือและความล้มเหลวในเรื่องต่างๆ
15. อย่ามองโลกในแง่บวกไปเสียทุกเรื่อง
ต้องคิดให้สมเหตุสมผล และยอมรับความเป็นจริง คิดวิเคราะห์ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ จำลองสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่ลืมที่จะวางแผนบนพื้นฐานของทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่
ท้ายที่สุดนั้น อย่าลืมว่าคุณสามารถเปลี่ยนแนวคิดของคุณได้ การเรียนรู้กระบวนการคิดที่ถูกต้องจะทำให้คุณเป็นคนที่คิดอย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณสามารถสร้างวินัยในการการคิด มันจะเป็นนิสัยที่ติดตัวคุณไปตลอด และจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในชีวิ

..........................................................................................................................




ท้ายรถกระบะเก่า กลายเป็นเก้าอี้วินเทจ

...............................................................................................................................




今日から「江たて(えたて)」(=溝切り)を始めました。
バイク型の溝切機で、田んぼに溝を作っていきます。
溝を作って、田んぼからスムーズに水を抜きます。



จาก Status : คุณสาธิต ชีวะประเสริฐ
ชาวนาวันหยุด:"ระยะเวลา 1เดือน หลังปักดำ ต้องชักร่อง ระบายน้ำออกจากแปลงนา(ทุกๆ 4 เมตร หรือแนวที่น้ำตกแอ่ง) ช่วยเรื่องการระบายแก๊ส ในดิน ลดความชื้น กระตุ้นการแตกกอ ลดการอยู่อาศัยของโรคแมลง"

........................................................................................................................


จากประเด็นร้อนตอนนี้ กรณีให้ยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา หลายๆคนออกมาด่า ออกมาโวยวายกันจะเป็นจะตาย ผมคิดว่าพวกนี้คงอ่านแต่หัวข้อว่ายุบโรงเรียน แต่ไม่ได้อ่านรายละเอียดทั้งหมดแน่เลย... อีกอย่างพวกนี้จะด่าเหมือนเดิมมั๊ยถ้ารู้ว่ารัฐบาลก่อนในสมัยท่านชิณวร บุญยเกียรติเป็น รมว.ศธ. ก็เห็นด้วยในการยุบโรงเรียนมากถึง 7000 กว่าโรงเรียน

.......................................................................................................................

ไทยรวย น้ำมัน(ดิบ)..แค่ไหน ?




                                           ไทยรวยปิโตรเลียมแค่ไหน?
กระแสทวงคืน ปตท.ยังคงแรงจัดใครไม่เชื่อไม่ทวงด้วยจะถูกประณามว่าเลวหรือไม่ก็โง่  ความเชื่อนี้ตั้งอยู่บนความจริงใจที่จะต่อต้านคอร์รัปชั่นแต่ขณะเดียวกันก็ตั้งอยู่บนความไม่เข้าใจและข้อมูลที่สับสนหรือถูกบิดเบือน

แม้ดิฉันไม่ได้เชื่อในการทวงคืนแต่ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และเห็นว่ามีหลายอย่างที่ควรเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับปตท.ด้วย    

วันนี้จะพยายามไขปัญหาปริมาณการผลิต “น้ำมัน” ในประเทศไทย แต่ด้วยพื้นที่จำกัดคงทำได้ระดับหนึ่งดิฉันได้เขียนอธิบายเกี่ยวเรื่องผลตอบแทนสัมปทานปิโตรเลียม ราคาน้ำมันและการอุดหนุนราคา LPG ไปก่อนนี้แล้ว  

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าปิโตรเลียมจากใต้พิภพ “ต้นน้ำ”ที่เป็นน้ำมันดิบ(Crude Oil) กับที่เป็นก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ซึ่งเราคุ้นเคยนั้นมีหน่วยวัดปริมาณที่ต่างกันน้ำมันดิบเป็น “บาร์เรล” ตามปริมาตร  ก๊าซฯเป็น “ล้านลูกบาศก์ฟุต” ตามปริมาตร หรือเป็น ”ล้านบีทียู” ตามค่าความร้อนนอกจากนี้ใต้พิภพยังมีของเหลวที่เรียกว่า คอนเดนเสท (Condensate) หรือ ก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งหน่วยวัดเป็นบาร์เรลเพราะเป็นของเหลวในอุณหภูมิของบรรยากาศปกติ  แหล่งปิโตรเลียมต่างๆมักจะมีทั้ง 3 อย่างปนกันอยู่แต่ในอ่าวไทยส่วนใหญ่เป็นก๊าซธรรมชาติ

เวลาพูดถึงยอดรวมการผลิตจึงต้องรวมกันด้วยหน่วยค่าความร้อน “เทียบเท่าน้ำมันดิบ”หรือ boe (Barrel of crude Oil Equivalent) 1boe ของก๊าซธรรมชาติคือปริมาณที่ให้ค่าความร้อนเท่ากับ 1 บาร์เรลของน้ำมันดิบ  ก๊าซธรรมชาติ 5,588ลบ.ฟุต เทียบเท่าน้ำมันดิบ 1 บาร์เรล การผลิตทุกชนิดมักรายงานเป็นค่าเฉลี่ยต่อวันหรือ b/d   

ประเด็นโต้แย้งอันหนึ่งในโลกออนไลน์คือ ที่กระทรวงพลังงานลงโฆษณาว่าประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบถึง85% เพราะการใช้สูงกว่าที่ผลิตได้เองซึ่งมีเพียง 15% ฝ่ายทวงคืนอ้างถึงรายงานประจำปี2012 ของบริษัทเชฟรอน “ระบุชัด” ว่าน้ำมันดิบและคอนเดนเสทขุดสูบได้ 243,000b/d  ซึ่งเป็นเกือบ 30% ของปริมาณนำเข้าแล้วถ้ารวมบริษัทอื่นๆผลิตด้วยจะมีมากแค่ไหน?

ข้อเท็จจริงคือ บริษัทเชฟรอนรายงานผลรวมของปิโตรเลียมทั้ง3 ชนิดคือ ก๊าซธรรมชาติก๊าซธรรมชาติเหลว และน้ำมันดิบ เป็น  หน่วยเทียบเท่าน้ำมันดิบ(boe) จะหยิบทั้งก้อนมาอ้างว่าเป็นน้ำมันดิบไม่ได้ โดยเฉพาะในอ่าวไทยน้ำมันดิบมีการผลิตเป็นส่วนน้อยมากอยู่แล้ว 
    
ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่จะถูกทางท่อส่งไปเข้าโรงแยกก๊าซซึ่งแยกก๊าซธรรมชาติออกมาเป็นก๊าซประเภทต่างๆ ได้แก่ มีเธน อีเธน โพรเพน บิวเทนและอื่นๆ รวมทั้งสิ่งที่เรียกว่า NaturalGasoline (NGL) หรือ แก๊สโซลีนธรรมชาติ ฉะนั้น ยอดรวมการผลิตน้ำมันจากใต้พิภพจึงต้องไม่รวม NGLเพราะจะเป็นการนับซ้ำ อย่างในกรณีที่ฝ่ายทวงคืนกล่าวหากระทรวงพลังงานว่าไม่ได้รวมNGL ในตัวเลขการผลิตปิโตรเลียม

อีกประเด็นโต้แย้งเกิดจากการนำข้อมูลคนละนิยามมาเปรียบเทียบกันแล้วประณามว่าฝ่ายรัฐโกหก ฝ่ายทวงคืนอ้างข้อมูลการผลิต “น้ำมัน”ตามรายงานของUS Energy Information Administration (EIA) กระทรวงพลังงานประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าไทย “ขุดสูบ”ได้ 40% ซึ่งต่างจาก 15% ข้างต้นมาก

หากไปดูรายงาน Short Term EnergyOutlook, January 2013 ที่มีการกล่าวอ้างจะพบว่า EIA ระบุว่าในปี2011 ประเทศไทยผลิตน้ำมันได้ 393,000 b/d  โดยเป็นน้ำมันดิบ 140,000 b/d  และคอนเดนเสท 84,000 b/d  และหากดูนิยามของEIA ในเวปไซท์ของ EIA แล้วจะพบว่าการผลิตน้ำมันนั้นรวมถึงของเหลวจากโรงแยกก๊าซฯและอื่นๆด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ LPG นั่นเองเมื่อเทียบกับข้อมูลในรายงานพลังงานของประเทศไทยของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานปี 2554 จะพบว่ามีความสอดคล้องกัน คือการผลิตน้ำมันดิบเท่ากับ 137,417b/d  และคอนเดนเสท 92,082b/d  ในขณะที่การผลิต NGL และ LPG จากโรงแยกก๊าซฯเท่ากับ 16,955 b/d  และ 137,986 b/d  ตามลำดับและเมื่อรวมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอีก 19,557 b/d  แล้ว จะได้การผลิตน้ำมัน 403,998 b/d 

ฉะนั้นหากถือตามนิยาม “น้ำมัน” ดังกล่าว ตัวเลขการผลิตในประเทศจะเป็น  37.8% ของการใช้ทั้งหมดและหากดูเฉพาะน้ำมันดิบที่ผลิตจากใต้พิภพ เทียบการผลิตกับการใช้น้ำมันดิบของโรงกลั่นในตารางเดียวกันก็จะได้ 15.3% สรุปว่าถูกทั้งคู่ สิ่งที่ฝ่ายทวงคืนนำเสนอจึงเสมือนนำแพะมาเปรียบเทียบกับแกะแล้วประณามว่าแพะไม่เหมือนแกะ ต้องมีการทุจริตแน่นอน

ความจริงอาจจะมีการทุจริตหรือการใช้เงินที่ไม่เหมาะสมแต่ตราบใดที่พิสูจน์กันไม่ได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ปรับธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลให้โปร่งใสและลดความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อนปรับโครงสร้างธุรกิจ เช่น แบ่งขายโรงกลั่น แยกระบบท่อก๊าซออกมา แก้ไขพรบ.การแข่งขันทางการค้าให้เลิกยกเว้นรัฐวิสาหกิจ ทำ ปตท.ให้โปร่งใส ให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมเท่าที่ทำได้เพื่อสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพและเกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค

การทวงคืน ปตท.ทำได้ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและทำเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับประเทศและประชาชน อย่างน้อยควรพิจารณาว่า หากเป็นรัฐวิสาหกิจ 100% จะถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองหรือจะเปิดทางให้เกิดการทุจริตรั่วไหลในองค์กรน้อยลงหรือว่ามากขึ้น ? 
............................................................................................................................


สปิริตบอลไทย!สุพรรณตั้งใจยิงจุดโทษปัญหาออกหลัง


http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=CHN42MjNcFU
............................................................................................................................



เป็นคำถามลอยๆที่ผมถามตัวเองขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อนานมาแล้ว พอได้ยินข่าวช้างเผือกที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ผมก็นึกถึงเรื่องหนึ่งขึ้นมาอีกครั้ง อย่างที่ผมเคยพูดไว้ครับว่า ผมจะเอาบางเรื่องที่ผมคิดว่า เคยทำ/คิดจะทำ รายงานส่งอาจารย์ แล้วคิดว่าน่าจะทำได้ดีกว่านี้ นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งในนั้นครับ ผมทำเรื่องนี้ตอนมหาลัยปี 1 เลย บอกตรงๆว่า ห่วยครับ ก๊อปหนังสือมาเกือบทั้งฉบับ เล่มนี้บ้าง เล่มนี้บ้าง ความเห็นของผมเองจริงๆมีประมาณ 4-5 บรรทัดตอนสรุปรายงาน ผมบอกตอนจบเลยครับว่า ผมสรุปว่าไทยเสียกรุงฯให้พม่าในสงครามช้างเผือกครั้งนี้ รวมไทยแล้วไทยเสียกรุงฯให้พม่าทั้งหมด 3 ครั้ง
อันนั้นเป็นข้อสรุปของผมตอนนั้น แต่ในครั้งนี้จะเป็นอย่างไรก็ต้องดูไปเรื่อยๆครับ(เพราะผมเองก็ยังนึกตอนจบไม่ออกครับตอนนี้ ว่าจะสรุปยังไง) และก็ไม่รู้นะครับว่าจะดีกว่ารายงานเล่มนั้นไหม แต่แน่นอนครับ มันมีความต่างอย่างสุดขั้วในสองครั้งที่ผมพูดเรื่องนี้ คือ ครั้งนั้นความคิดเห็นของผมใช้ประกอบข้อมูลที่ผมไปค้นมา แต่ครั้งนี้ ข้อมูลที่ผมค้นมาจะมาใช้ประกอบความคิดเห็นของผม เรามาเริ่มกันเลยครับ
หลังสงครามคราวเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กลับไปพม่าก็ใช้สุราดับความขุ่นข้องที่ตีกรุงศรีฯไม่แตก จนถูกวางแผนปลงพระชนม์ ความวุ่นวายเกิดขึ้นช่วงระยะหนึ่ง ก่อนที่บุเรงนองจะรวบรวมพม่าได้อีกครั้ง ทางฝ่ายไทยนั้นหรือ มีการคล้องช้างเผือกได้ถึง 7 เชือก ซึ่งถือเป็นเรื่องอันเป็นมงคลยิ่ง แต่ประจวบเหมาะกับการที่พม่าหาเหตุเข้ามาตีกรุงศรีฯ เรื่องนี้จากจะเป็นเรื่องดีๆ กลับกลายเป็นเหตุให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ไปซะได้
บุเรงนอง ส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือกสองเชือก ผมว่าจริงๆช้างได้ก็ดี ไม่ได้ก็ช่าง แต่จุดมุ่งหมายจริงๆนั้นผมว่า 1)สร้างความแตกแยกในไทย 2)ถ้าไม่ให้ก็ใช้เป็นเหตุในการยกทัพมาตีกรุงศรีฯ ซึ่งผมเห็นว่า จุดมุ่งหมายที่แท้จริงทั้งสองข้อก็บรรลุผล คือ สร้างความแตกแยกระหว่าขุนนางไทย (ให้ กับไม่ให้) และสุดท้ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ไม่ให้ จึงเป็นเหตุให้บุเรงนองนำทัพพม่า เข้าตีกรุงศรีอยุธยา
รายละเอียดของสงครามนั้น ผมขอพูดสั้นๆ คือ บุเรงนองยกทัพมาทางด่านแม่ละเมา ตีแตกมาเรื่อยจนเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชา(พระบิดาสมเด็จพระนเรศวร) สู้ไม่ได้จึงต้องถวายสัตย์อยู่ข้างฝ่ายพม่า แล้วบุเรงนองก็ให้พระมหาธรรมราชา ครองพิษณุโลกต่อไป จากนั้นพม่ายกทัพต่อลงมาตีกรุงศรีฯ พม่าก็ได้ปะทะกับทัพอยุธยาของพระราเมศวร แต่ฝ่ายอยุธยาต้านทานไหว ต้องถอยกลับเข้ากรุงฯ พม่าได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน จนราษฎรได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต้องเสด็จไปเจรจากับบุเรงนองยอมเป็นไมตรี เป็นอันสิ้นสุดการสู้รบ โดยมีเงื่อนไขในการเจรจา ดังนี้
- มอบช้างเผือก 4 เชือก ให้แก่พม่า(จากตอนแรกสองเชือก)
- มอบพระราเมศวร พระยาจักรี(สุดท้ายท่านนี้แหละที่ไปเข้ากับพม่าเปิดประตูเมืองจนเสียกรุงครั้งที่ 1 ผมดูตามหนังมานะครับ) และพระสุนทรสงครามให้แก่พม่าเป็นตัวประกัน
- ส่งส่วยช้างให้พม่า ปีละ 30 เชือก เงินปีละ 300 ชั่ง และสิทธิในการเก็บภาษีที่เมืองมะริด ซึ่งถือเป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยนั้น
ก่อนกลับบุเรงนองได้แวะเมืองพิษณุโลกและขอพระนเรศวรซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ 9 พรรษา ไปเลี้ยงดูที่กรุงหงสาวดี(ซึ่งอันนี้ผมว่าก็เป็นตัวประกัน ของพระมหาธรรมราชา) ส่วนอยุธยานั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงต่อรองขอดินแดนของอยุธยาทั้งหมดที่บุเรงนองยึดไว้คืน บุเรงนองก็คืนให้แต่โดยดี
เอาล่ะครับ จุดสำคัญของเรื่องนี้ มันก็มาอยู่ตรงนี้ ตรงผลของสงครามนี่หล่ะครับว่า ตอนนั้น ฐานะของอยุธยาเป็นอย่างไร การเสียกรุงฯที่ผมพูดถึง ผมมองว่าไม่จำเป็นต้องตีเมืองให้แตกนะครับ แต่ฐานะของคู่สงครามหลังสงครามจบนั่นสิสำคัญ ผมขอเสนอสมมติฐานไว้ 3 แนวทาง
1.เหมือนก่อนเกิดสงครามครั้งนี้
2.เมืองขึ้นของพม่า
3.ประเทศราชของพม่า
ต้องขอบอกความแตกต่างของเมืองขึ้น กับประเทศราช ในมุมมองของผมก่อนนะครับ คือเมืองขึ้นเนี่ย คือ เมืองที่อยู่ในปกครองของประเทศอื่น อีกประเทศเข้าไปปกครอง หรือส่งคนเข้าไปปกครองอีกประเทศ การกระทำการใดๆ ต้องอยู่ในคำสั่งของประเทศแม่โดยตรง สั้ นๆ คือ อิสรภาพทั้งภายใน-นอก ประเทศถูกจำกัด ส่วนประเทศราชเนี่ย คือ เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแล และคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย คือมีอิสภาพภายในประเทศ แต่ภายนอกประเทศถูกจำกัด
มาลองพิจารณาดู ผมว่าข้อ 2 ตัดทิ้งไปได้เลย หลังสงครามอยุธยายังมีกษัตริย์ปกครองเช่นเดิม และไม่ได้ถูกควบคุมโดยพม่าแต่อย่างใด
มาที่ ข้อ 1 ผมเห็นว่านะครับ การที่เราเลิกสงครามโดยการมอบช้างเผือก 4 จาก 7 เชือกให้แก่พม่า ซึ่งมากกว่าประเทศที่ไปคล้องได้เองด้วยซ้ำเนี่ย ไม่ได้ทำให้ฐานะของประเทศเปลี่ยนแปลงไปเลยนะครับ พูดกันตรงๆตามประสาบ้านๆ ก็แค่ เสียหน้า แต่การส่งส่วยช้างให้พม่า ปีละ 30 เชือก เงินปีละ 300 ชั่ง นี่สิครับ การส่งปีละ ก็หมายความว่า ต้องส่งให้ทุกปี แน่นอนล่ะครับว่า ฐานะของอยุธยาที่เมื่อก่อนไม่ได้ส่งส่วยแบบนี้ให้พม่า ไม่เหมือนเมื่อก่อนสงครามแน่ๆ ทั้งยังมีตัวประกันอีกด้วย ผมเห็นว่า ข้อ 1 ก็สมควรตัดทิ้งไป
งั้นเราก็มาสรุปเลยไหมครับว่า เป็นข้อ 3 อยุธยาเป็นประเทศราชของพม่า ผมว่ายังครับ ยัง เรามาพิจารณาองค์ประกอบหลายๆส่วนกันก่อนดีว่า ที่จะไปสรุปง่ายๆแบบนั้น จากองค์ประกอบที่ผมหามาประกอบนี้ ประเทศราชต้อง
1.ส่งสวย
2.ไปช่วยรบ
พูดถึงเรื่องการส่งส่วยให้พม่าก็ชัดเจนครับว่ามันเข้าข่ายว่าอยุธยาจะเป็นประเทศราช แม้เราก็ไม่อาจจะทราบได้ว่าอำนาจของกษัตริย์พม่า ณ เวลานั้น ต่อ กษัตริย์อยุธยาเป็นอย่างไร แต่ก็แน่นอนว่าการส่งส่วยนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะพิจารณาว่า ใครเป็นประเทศราชของใคร แต่องค์ประกอบที่ผมคิดว่าสำคัญไม่แพ้การส่งส่วย คือ ประเทศแม่เกิดสงครามประเทศราชต้องส่งกองทัพไปช่วยรบด้วย ซึ่งเรื่องนี้ระหว่างอยุธยา กับพม่าตอนนั้น มันไม่ชัดเจนครับ อาจเป็นเพราะช่วงนั้นพม่าก็ไม่ได้ไปรบกับใครที่ไหน เลยไม่ต้องจำเป็นให้อยุธยาต้องส่งทัพไปช่วย แต่กรณีของอยุธยา กับพิษณุโลกมันต่างกันนะครับ ผมขอยกเหตุการณ์สงครามเสียกรุงฯครั้งที่ 1 ซึ่งเกิดหลังสงครามช้างเผือกนี้ เป็นตัวอย่าง การที่พม่ายกทัพมาคราวสงครามช้างเผือกเชียงใหม่เป็นพันธมิตรช่วยรบ แน่นอน เชียงใหม่เป็นประเทศราชของพม่า แต่พิษณุโลกตอนนั้นยังขึ้นกับกรุงศรีฯ พม่าต้องจัดการกับพิษณุโลกก่อนจึงจะเดินทัพต่อไปได้ แต่คราวเสียกรุงฯครั้งที่ 1 นั้น ทั้งเชียงใหม่และพิษณุโลก ต่างช่วยพม่ารบกับกรุงศรีฯ แสดงว่าตอนนั้น(หลังสงครามช้างเผือก) พิษณุโลกเป็นประเทศราชของพม่าเต็มตัว ชัดเจน
จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่า ตอนนั้น อยุธยา โดดเดี่ยวอย่างแท้จริง พิษณุโลกที่เราคิดเสมอว่าเป็นส่วนหนึ่งของไทย กลับไปเข้ากับพม่า ซ้ำยังเป็นกำลังของพม่าไปเสียอีก ทำให้ต้องมาพิจารณากันว่า สงครามคราวเสียกรุงฯครั้งที่ 1 เป็นการปราบกบฏของพม่า หรือ เป็นการสู้รบระหว่างสองประเทศที่ทัดเทียมกัน
สำหรับการสรุปเรื่องนี้ของผมในครั้งนี้ ผมก็ต้องบอกว่า อยุธยาเป็นประเทศราชของพม่า แค่ครึ่งตัวครับ ส่วนอีกครึ่งไม่ชัดเจน เพราะไม่มีกรณีศึกษามาให้เห็นเป็นตัวอย่าง คือ ถ้าเราถือว่า แค่ส่งส่วยให้ก็ถือว่าเป็นประเทศราช อยุธยาก็คือประเทศราชของพม่าครับ แต่พอมาดูว่าประเทศราชมันต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นด้วย คือ การส่งกำลังไปช่วยรบเนี่ย จากชัดเจนมันก็แค่ ครึ่งๆ เพราะไม่เคยมีสงครามครั้งไหน(หลังสงครามช้างเผือก-สงครามเสียกรุงฯครั้งที่ 1) ที่อยุธยาส่งกองทัพไปช่วยพม่ารบ(ลองค้นดูแล้วไม่มีครับ ถ้าผิดพลาดขออภัย) เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วไซร้ ผมจึงขอสรุปว่า
หลังสงครามช้างเผือก อยุธยา ใกล้เคียงกับการเป็นประเทศราชของพม่า แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าอยู่ในสถานะใด อธิบายข้อสรุปนี้อีกสักรอบ คือ ประเทศราชต้อง 1)ส่งส่วย 2)ช่วยรบ ข้อ 1)นั้นชัดเจนว่าใช่ แต่ข้อ 2)นั้นคือปัญหา เพราะไม่มีกรณีศึกษา เช่นสมมติว่า พม่ารบกับยะไข่ กรณีที่ผมจะยกมาก็เป็นได้หลายแนวทางคือ
1.พม่าบอกให้อยุธยาไปช่วย อยุธยาไปช่วยรบ อันนั้นเราก็จะสรุปได้เลยว่า อยุธยาเป็นประเทศราชของพม่า
2.พม่าบอกให้อยุธยาไปช่วย เหมือนข้อ 1. แม้อยุธยาจะไม่ยอมไปช่วย ซึ่งแสดงว่ามีข้อตกลงกันว่าถ้ามีการรบต้องบอกกล่าวให้มาช่วย ก็สรุปได้เช่นกันว่า อยุธยาเป็นประเทศราชของพม่า แต่อาจโดนข้อหาอื่น คือ กบฎ,แข็งเมือง (เพราะไม่ยอมไปช่วยประเทศแม่รบ)
3.มีการรบเกิดขึ้น พม่ากำลังพลก็ไม่ค่อยจะเพียงพอ แต่ก็ไม่ได้บอกให้อยุธยาไปช่วยรบ ไปรบจัดการกับยะไข่เอง อันนี้ อยุธยา ก็ไม่ใช่ประเทศราชของพม่า
เมื่อความเป็นจริงไม่มีเหตุการณ์ดังที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น จึงเป็นที่มาของข้อสรุปของผมนั้นแล
***เรื่องราวทั้งหมดนี้ เป็นความเห็นของผมล้วนๆครับ ใครจะเห็นเหมือน เห็นต่าง มันก็ต้องมีอยู่แล้ว ผมไม่ได้สรุป เพื่อจะบอกว่าผมถูก คิดอย่างอื่นไม่ได้ หรือยังไม่มีใครเคยคิดแบบนี้ผมคิดคนแรก ซึ่งไม่ใช่หรอกครับ คงมีใครที่คิดแบบนี้มากมาย รูปภาพประกอบนี้ ก็มาจากหนังสือเรื่อง ”สงครามช้างเผือก ไทยเสียกรุงครั้งที่ 1” โดย เกริกฤทธี ไทคูนธนภพ (ขอบคุณเรื่องของภาพมา ณ ที่นี้ แต่ตัวหนังสือผมไม่เคยอ่านนะครับ ไม่รู้ท่านว่าอย่าไรบ้าง อิอิ) แต่ที่ผมต้องการคือ หากท่านเห็นเหมือน ตรงไหนที่ท่านว่าใช่ และหากท่านว่ามันไม่ใช่ ท่านว่ามันควรเป็นอย่างไร ผมรับความเห็นต่างได้เสมอ เพราะผมก็เป็นหนึ่งในคนที่ขอพื้นที่ให้กับคนที่เห็นต่าง แบ่งปันอย่างสร้างสรรค์ครับ
***สุดท้ายนะครับ นี่ก็คือเรื่องที่ผมบอกท่านเมื่อวานว่า อาจจะยาวที่สุดที่ผมเคยทำเลย ช้าไปหนึ่งวัน ไม่ว่ากันนะครับ

............................................................................................................................




คนอายุมากก็เรียกว่าแก่มากนั่นเอง แล้วถ้าแก่เปล่าๆ แล้วจะมีค่าอะไร เรียกว่า อยู่แบบรกโลก อยู่หนักแผ่นดิน ไม่ได้ทำให้แผ่นดินมีคุณค่า

ท่านจึงจำแนกคนที่เกิดมาในโลกไว้ ๓ ประเภท

๑. เกิดมาทำให้โลกงดงาม

๒. เกิดมาทำให้โลกทราม

๓. เกิดมาทำโลกให้มันเต็มจำนวนคนเท่านั้นเอง

พวกเกิดมาทำให้โลกงดงาม เป็นคนประเภทเอางานเอาการ ใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ ด้วยการประกอบกิจการงานตามหน้าที่ เขาสนุกในงาน เพลิดเพลินในงาน ทำเรื่อยไปไม่หยุดยั้ง

พวกทำให้โลกทราม หมายความว่า ไม่ทำอะไร ถ้าจะทำก็ทำแต่เรื่องให้ยุ่ง ให้เสียหาย สร้างปัญหา สร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนให้คนอื่น เช่น เป็นนักการพนัน ชอบเที่ยวกลางคน เสพสุรายาเมา คบเพื่อนชั่ว สนุกสนาน ประเภทไม่ได้สาระแก่นสาร....แม้จะขยันก็ขยันในทางที่ไม่เป็นคุณค่า ก็อยู่ในประเภทขยันไม่เข้าเรื่อง

อีกประเภท เกิดมาแล้วอยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร เกิดมาทำให้โลกมันเต็มจำนวนคนเท่านั้นเอง เช่นว่า คนบางคนเกิดมาในสกุลที่พ่อแม่มีฐานะมีเงินมีทอง แล้วก็ไม่ทำอะไร เอาแต่เงินของพ่อแม่ไปกินไปใช้สนุกสนานไป กินแล้วนอน...กินแล้วเที่ยว อย่างนี้อยู่ในประเภทเกียจคร้าน ชีวิตไม่ก้าวหน้า

ปัญญานันทภิกขุ
บางส่วนจาก "เลิกเกียจคร้านกันเถิด เพื่อความก้าวหน้าของชีวิต"

........................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น