วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

21/05/2556

................................................................................................................................




ที่ให้อาหารนก อย่างง่าย ขวดน้ำ1ใบ+ช้อน 2 อัน

.........................................................................................................................




โอนี่จัง~ นี่เป็นต้นทานตะวันที่ฉันปลูกเองนะ!

...................................................................................................................


ราคาน้ำมัน ทำอย่างไรให้ถูกลง?




มีหลายๆอย่างที่เกี่ยวกับ ปตท.ที่จะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง แต่ก็มีบางอย่างที่ ปตท.ถูกโจมตีเพราะการขาดข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่บิดเบือน วันนี้จะเขียนเรื่องราคาน้ำมันซึ่งเชื่อกันว่าแพงเหลือเกิน  


- ก่อนอื่นต้องปรับความเข้าใจว่าน้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) ที่ซื้อขายกันข้ามพรมแดนและมีราคาตลาดโลกกำหนดโดย “กลไลตลาด” เหมือนอย่างทองคำหรือข้าว สำหรับประเทศไทยตลาดน้ำมันใหญ่ที่ใกล้ที่สุดในคือสิงคโปร์ ราคาในประเทศจึงใกล้เคียงและเคลื่อนไหวตามตลาดที่สิงคโปร์        หากรัฐบังคับให้ขายราคาต่ำๆ โรงกลั่นก็จะส่งออกไปสิงคโปร์ แล้วก็ต้องมีการนำเข้ามาสนองผู้บริโภคในราคาสิงคโปร์บวกค่าขนส่ง ราคาขายปลีกของไทยเป็นระบบ ”กลไกตลาดที่มีการแทรกแซง” โดยรัฐ การแทรกแซงมีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็น ที่เป็นทางการคือการเก็บภาษีและเงินกองทุน  

ถ้าสรุปโครงสร้างราคาขายปลีกง่ายๆ จะพบว่าน้ำมันดีเซล (กว่า 70% ของน้ำมันทั้งหมด) มีโครงสร้างราคาเป็นเนื้อน้ำมัน 80% ภาษี 7% กองทุน 7% ค่าการตลาด 7% ในขณะที่เบนซินแก๊สโซฮอล 95 (E10) และแก๊สโซฮอล 91 มีโครงสร้างเฉลี่ยเป็นเนื้อน้ำมัน 62% ภาษี 25% กองทุน 8% ค่าการตลาด 5%

ภาษีของแก๊สโซฮอลสูงกว่าภาษีของดีเซลมาก ด้วยนโยบายรัฐบาลที่ตรึงราคาดีเซลไว้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ แต่มองอีกมุมการตรึงราคาให้ต่ำทำให้ธุรกิจไม่ปรับตัวให้ใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และอัตราเงินเฟ้อก็สูงขึ้นอยู่ดีด้วยเหตุปัจจัยอีกหลายอย่าง

-  ภาษี ส่วนที่มากที่สุดคือสรรพสามิต เรามักจะคุ้นเคยกับที่เก็บบน ”อบายมุข” เช่นเหล้าบุหรี่ ซึ่งยิ่งราคาถูกคนก็ยิ่งเสพมาก ทำให้เสียสุขภาพ ทำนองเดียวกันน้ำมันยิ่งราคาถูกก็ใช้มาก สร้างมลภาวะมาก ที่สำคัญการใช้น้ำมันในการเดินทางและขนส่งทำให้รัฐต้องสร้างและดูแลถนนซึ่งใช้งบประมาณจำนวนมาก ใครใช้ถนนมากก็น่าจะจ่ายมาก จะเป็นธรรมกว่าการเก็บจากทุกคนเหมือนๆกัน ในยุโรปหลายประเทศจะเก็บภาษีน้ำมันสูงมาก สหรัฐอเมริกาเก็บต่ำทำให้คนใช้น้ำมันมากจนเป็นแชมป์ทำโลกร้อน

อีกวิธีที่จะลดราคาน้ำมันคือลดภาษี แต่ลดที่หนึ่งก็ต้องไปเพิ่มที่อื่น จึงขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐว่าแทนที่จะลดภาษีน้ำมัน ควรเอางบที่มีจำกัดไปพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างโอกาสให้กับประชาชน หรือไม่ 


กองทุน ส่วนที่มากคือกองทุนน้ำมันซึ่งเป็นการอุดหนุนระหว่างผู้ใช้น้ำมันต่างชนิด (cross subsidy) นายกยิ่งลักษณ์เคยหาเสียงว่าจะยกเลิกแต่ก็ทำไม่ได้ กองทุนน้ำมันช่วยเกลี่ยราคาไม่ให้ผันผวนมาก และยังเป็นเครื่องมือส่งเสริมการใช้น้ำมัน เช่น แก๊สโซฮอล ไบโอดีเซล ทั้งใช้ในการตรึงราคาก๊าซหุงต้มให้ต่ำแต่ก็เกิดผลกระทบเสียหาย ประเทศมาเลเซียเคยอุดหนุนราคาหน้าป้ำมาก แต่มีแนวโน้มจะลดหรือเลิก เพราะไม่ต้องการให้รั่วไหลไปนอกประเทศมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เศรษฐกิจอาเซียน

- ค่าการตลาดเป็นตัวรวมของการลงทุนและค่าใช้จ่ายการค้าปลีกและสถานีบริการ ไม่ใช่แต่กำไร ต้นทุนต่างๆจะมีประสิทธิภาพและผู้ค้าจะไม่มีกำไรเกินควรตราบใดที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์         แต่เพราะการแทรกแซงอย่างไม่เป็นทางการเวลาตลาดโลกขึ้น ปตท.ได้สนองความต้องการของฝ่ายการเมืองให้ขึ้นราคาขายปลีกช้าๆ ขาลงก็ลงเร็วเพื่อให้ผู้บริโภคได้ราคาต่ำ ทำให้ผู้ค้าที่ไม่มีกิจการต่อเนื่อง(Integration)ขาดทุนมากจนหลายรายต้องล้มไป เช่น BP Q8 และJet ในระยะสั้นอาจจะดีกับผู้บริโภค แต่ก็ทำให้การใช้น้ำมันไม่มีประสิทธิภาพ และอาจทำให้เกิดการผูกขาดในระยะยาว ที่ ปตท.สามารถตัดเนื้อสนองฝ่ายการเมืองได้ก็เพราะกระเป๋าลึก มีกำไรง่ายๆจากธุรกิจอื่นมาเกื้อหนุน

- ราคาเนื้อน้ำมันหรือราคาหน้าโรงกลั่นจะเคลื่อนไหวตามสิงคโปร์โดยถัวเฉลี่ย แต่การเปรียบเทียบต้องรวมมูลค่าของเอธานอลและเมทิลเอสเตอร์สำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพ ที่ทำให้ต้นทุนของไทยสูงกว่าราคาในตลาดจร ถือเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมและเกษตรกร อย่างไรก็ตาม มีประเด็นเรื่องการแข่งขันที่รัฐบาลสมควรพิจารณาอย่างจริงจัง

การแทรกแซงกลไกตลาดอาจไม่เสียหายอะไรหากทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ยั่งยืน แต่สิ่งที่ควรแก้ไขคือ การมีอำนาจเหนือตลาดของ ปตท. ได้แก่   

๑. ปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีการแข่งขันมากขึ้น โรงกลั่นน้ำมันแทบทุกโรงเป็นบริษัทลูก ปตท. กรณีที่ถือหุ้นไม่เกินครึ่งก็ยังมีอำนาจชี้นำ ควรให้มีการขายออกไปบ้างเพื่อสร้างการแข่งขันอย่างแท้จริง ซึ่งจะช่วยให้ราคาน้ำมันต่ำลงได้ นอกจากนี้ยังควรแยกกิจการท่อส่งก๊าซออกมาเพื่อความโปร่งใสและสร้างการแข่งขันในตลาดก๊าซ

๒. แก้ไข พรบ.การแข่งขันทางการค้า เลิกข้อยกเว้นรัฐวิสาหกิจในส่วนที่แข่งขันกับเอกชน และปรับโครงสร้างคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าให้เข้มแข็ง เพื่อมิให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในทุกๆด้าน รวมทั้งการผลิตไฟฟ้า

ต้องยอมรับว่าการแปรรูปทำให้ ปตท.เป็นมืออาชีพกว่าเดิม แต่ก็ต้องดูแลไม่ให้เข้มแข็งเกินไป ผู้ที่อยากจะ “เอา ปตท.คืนมา” ควรคิดให้ดีว่าคุ้มหรือเปล่าที่จะให้กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มตัว เอื้อให้ฝ่ายการเมืองสามารถครอบงำได้มากยิ่งขึ้น ลองคิดว่าภายในภาคเอกชนกับภาครัฐที่ไหนมีการคอร์รัปชั่นมากกว่ากัน? 

                                                                  เดิมจะพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ 20 มี.ค.56  แต่ส่งไม่ทันกำหนดเวลา :(

..............................................................................................................


อินโดนีเซียเตรียมยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว จะทำให้ราคาน้ำมันในประเทศปรับขึ้นอย่างก้าวกระโดด

แต่เดิมอินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน คือผลิตได้มากกว่าการบริโภคในประเทศ แต่แล้วกำลังการผลิตก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับการบริโภคที่มีแต่เพิ่มสูงขึ้น สุดท้ายก็กลายเป็นผู้นำเข้า จนถูกถอดจากสมาชิกภาพของกลุ่มประเทศ OPEC

ในรายงานของ EIA ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "However, the combination of growing domestic oil consumption, the natural maturing of Indonesia's oil fields, and limited investment into reserve replacement caused Indonesia to become a net importer of both crude oil and refined products by 2004" [1] http://www.eia.gov/countries/cab.cfm?fips=ID

ที่น่าสังเกตคือข้อความที่ว่า "limited investment into reserve replacement" นั่นคือไม่มีการสำรวจเพื่อทดแทนปริมาณสำรองอย่างเพียงพอ อ่านตรงนี้นักทวงคืนที่ชอบเย้วๆให้รัฐยกเลิกสัมปทานสำรวจและผลิตในบ้านเราจะรู้สึกอะไรบ้างไหม?

อีกทางหนึ่งจะเห็นว่าการบริโภคน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้นของอินโดนีเซียน่าจะเป็นผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็ชวนให้คิดเหมือนกันว่าการอุดหนุนราคาของรัฐบาลเป็นผลให้คนใช้น้ำมันกันอย่างไม่ยั้งคิด ทำให้เกิดอุปสงค์ที่มากเกินหรือไม่? ถ้าราคาน้ำมันของอินโดแพงมากกว่านี้ อัตราการเติบโตของตัวเลขการบริโภคจะน้อยลงหรือไม่?

บทเรียนถึงประเทศไทยก็คือเลิกคาดหวังได้แล้วกับเรื่องน้ำมันถูกๆ เพราะแม้แต่อินโดนีเซียที่ผลิตน้ำมันได้มากกว่าไทยก็ยังต้องเลิกอุดหนุนราคา (ปัจจุบันอินโดผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าไทยเกือบสี่เท่าตัว) ทางที่ดีเราควรปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานเพื่อลดการน้ำเข้าน้ำมันไม่ดีกว่าหรือ (ใช้น้ำมันให้น้อยลงปตท.ที่พวกคุณเกลียดก็มีรายได้น้อยลงไง)

นอกจากนั้นบทเรียนเรื่องอินโดีนีเซียยังทำให้เห็นความจำเป็นของการเร่งสำรวจปิโตรเลียมเพื่อเพิ่มปริมาณสำรองอีกด้วย แต่พอจะมีการเปิดสัมปทานเพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ก็จะต้องมีพวกทวงคืนออกมาก่นด่าว่าขายชาติอยู่เสมอๆ

เพื่อ?

ปล.อ่านข่าวเรื่องการยกเลิกอุดหนุนราคาของอินโดนีเซียได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

http://www.nytimes.com/2013/05/03/business/global/03iht-subsidy03.html?pagewanted=all&_r=0

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20130520/506622/อินโดฯจ่อขึ้นราคาน้ำมัน.html

............................................................................................................................




ช่วงนี้ได้ยินคำนี้บ่อยนะครับ แหม่

.......................................................................................................................




#เด็กติดสบาย ภาวะน่าเป็นห่วงที่พบบ่อยในโลกยุคปัจจุบัน

หมอทำงานเป็นจิตแพทย์เด็กมาหลายปี เจอเคสมาก็มาก แต่เคสแบบหนึ่งที่หมอมักจะเจอเป็นประจำ คือเด็กที่มีปัญหาการเรียน ซึ่งอย่างที่หมอเคยเล่าให้ฟังว่า เกิดได้จากหลายสาเหตุ วันนี้หมอจะมาพูดในเรื่องเด็กที่มีปัญหาการเรียนเพราะรักสบาย ติดสบาย ขาดความพยายาม ส่วนใหญ่มักจะพบในเด็กที่ผู้ปกครองที่ไม่ปล่อยให้เด็กทำอะไรเอง

การทำให้เด็กมากเกินไป หรือ ภาษาบ้านๆเรียก โอ๋เด็ก ช่วยและทำให้หมดทุกอย่าง จนเด็กแทบไม่ได้ขยับตัวไปไหน พบบ่อยในพ่อแม่สมัยใหม่ โดยเฉพาะลูกคนแรก หลานคนแรก พี่เลี้ยงที่ดูแลเด็กดีมาก บางทีหมอคุยกับหลายๆคนที่เป็นแบบนี้ก็จะให้เหตุผลว่า ไม่มีเวลารอเด็กทำเอง เด็กทำแล้วไม่ดี ไม่เรียบร้อย เลยทำให้ตั้งแต่เด็กจนโต เช่น เด็กที่อายุ4ขวบแต่ยังมีคนป้อนข้าวให้ เด็กอายุ6-7ปีแต่ยังใส่เสื้อเองไม่เป็น ต้องมีคนคอยถอดเสื้อ ถอดกางเกงให้ เข้าเรียนประถมแล้วยังต้องจัดกระเป๋าเรียน แต่งตัว อาบน้ำ กินข้าวต้องป้อน

การช่วยเด็กมากเกินไปเช่นนี้จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเด็กจะไม่เคยหัดทำอะไรเอง ทีหลังเมื่อต้องทำอะไร ก็จะไม่อยากทำ เพราะคิดว่ามีคนคอยช่วยอยู่แล้ว บางทีก็ไม่อยากทำเพราะที่ผ่านมาเคยทำแล้ว ถูกดุว่าทำไม่ดี ไม่คล่อง จนทำให้กลายเป็นเด็กที่ติดสบาย คิดว่ามีคนที่คอยช่วยอยู่แน่ๆ แต่เมื่อโตขึ้นความติดสบายแบบนี้จะส่งผลถึง ความเชื่องช้า ไม่ขวนขวายในเรื่องอื่นๆ เช่น การเรียน ทำให้เด็กเหล่านี้กลายเป็นเด็กที่มีแนวโน้มไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน และการใช่ชีวิตเมื่อเป็นผู้ใหญ่

อย่าลืมว่า ประสบการณ์ การฝึกฝน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับ การเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ค่ะ

#หมอมินบานเย็น
 
...............................................................................................................




คือผมได้ยินโฆษณารีสอร์ทชวนคนไปสูด โอโซน (Ozone, O3) ให้เต็มปอดอ่ะครับ
ผมสงสัยจริงว่าสมัยนี้ยังมีคนไม่รู้ว่า โอโซนมันเป็นพิษกับมนุษย์อีกหรือเนี้ย

..............................................................................................................



ตอนนี้ช่วงทำหล่อครับ ร้องรีบตักตวงหน่อย

ป.ล. พิมพ์คำว่าปลอดภัยเป็นจ้ะ กลายเป็นปรอดภัย ขอโทษทีครับ รีบทำหล่อไปหน่อย

............................................................................................................



เทคนิคการอ่านจับใจความ
วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ...

สัปดาห์ที่แล้วดิฉันเขียนถึงการอ่านว่าเป็นรากฐานที่ดีของชีวิต มีแฟนคอลัมน์เรียกร้องว่าอยากทราบเทคนิคการอ่านแบบจับใจความซึ่งดิฉันเขียนไว้ว่า

“เป็นการอ่านที่ทรงพลังที่สุด และได้ประโยชน์มากที่สุด เวลาเป็นของมีค่า หากเราสามารถจับใจความได้เร็วและแม่นยำ เราทำอะไรก็ได้เปรียบค่ะ เช่น ผู้ที่อ่านข้อสอบและตีโจทย์ได้เร็ว ก็มีโอกาสได้คะแนนสอบสูง ผู้ที่อ่านงานเพื่อหาข้อสรุป หรือหาข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหา หรือการตัดสินใจได้ดีและเร็ว ก็จะมีความเจริญก้าวหน้ารวดเร็วด้วย”

ในการอ่านแบบจับใจความ ผู้อ่านต้องเริ่มต้นด้วยการมีสติ รู้ว่ากำลังอ่านเพื่อจับใจความ เพราะฉะนั้น ห้ามหลงใหล หรือ “อิน” ทางด้านอารมณ์ไปกับเนื้อหา โดยส่วนใหญ่เราจะไม่นำเทคนิคอ่านจับใจความ ไปใช้กับการอ่านนวนิยาย หรือการอ่านบทกวี เพื่ออรรถรสค่ะ ยกเว้นจะเรียนสาขาอักษรศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ และอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบไม่ทัน แบบที่ดิฉันเคยทำเมื่อสมัยเรียน

การอ่านอย่างมีสตินั้น อ่านไปก็ต้องพยายามหาคำตอบอยู่เสมอว่า “ทำไม” “อะไร” “เมื่อไร” “อย่างไร” “ที่ไหน” ในบรรดาคำถามทั้งห้านั้น “ทำไม” เป็นคำถามที่ทรงพลังที่สุด

เทคนิคที่สอง ให้เปิดดูสารบัญหรือเรื่องย่อ (ถ้ามี) เพื่อให้เห็นภาพใหญ่ก่อน เมื่อเห็นภาพใหญ่แล้วจะทำให้ง่ายขึ้นในการจับใจความค่ะ

หลังจากเปิดดูสารบัญหรือเรื่องย่อ เราควรจะทราบข้อมูล เพื่อตอบคำถาม “อะไร” ดังต่อไปนี้คือ เรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร ผู้เขียนต้องการนำเสนออะไร (แบบคร่าวๆ) และมีหลักในการนำเสนออย่างไร เช่น นักเขียนบางคนเริ่มจากการวางหัวเรื่องให้คนสงสัย แล้วค่อยๆ คลี่คลาย เพราะฉะนั้น ช่วงท้ายจึงสำคัญ ในขณะที่บางคนจะวางประเด็นหลักไว้ก่อน แล้วจึงหาเหตุผลและประเด็นมาสนับสนุน

เทคนิคที่สาม สรุปความแต่ละบท เพื่อตอบคำถามที่เหลือคือ “ทำไม” “อย่างไร” “ที่ไหน” สมัยก่อนสรุปได้ง่ายกว่าสมัยนี้ เนื่องจากผู้เขียนจะมีรูปแบบการเขียนไม่แตกต่างกันมากนัก ดังเช่นตัวอย่างที่ยกไปแล้ว บางคนจะเขียนใจความหลักของแต่ละย่อหน้าไว้ในประโยคแรก แล้วจึงค่อยๆ อธิบาย เพราะฉะนั้น หากพบการเขียนสไตล์นี้ สามารถอ่านประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า ก็จะได้เนื้อหาของย่อหน้าทั้งหมด 100 หน้า อาจจะใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมง

ผู้เขียนบางคนวิธีสรุปความในตอนท้ายของแต่ละย่อหน้า อันนี้ถ้าจับสไตล์ได้ ก็อ่านเพียงส่วนท้ายของแต่ละย่อหน้า หรือแต่ละบท

แต่การเขียนสมัยใหม่ ไม่ค่อยมีรูปแบบที่ตายตัวเหมือนสมัยก่อน การแบ่งย่อหน้าก็ต่างกัน สมัยก่อน หนึ่งความคิด หนึ่งย่อหน้า สมัยนี้แบ่งย่อหน้าได้บ่อยๆ บางครั้งยังใช้คำสันธาน (คำเชื่อม เช่น และ เพราะ ซึ่ง ฯลฯ) คอลัมน์ของดิฉันก็เป็นเช่นนั้น เนื่องจากพื้นที่แคบและยาว การกวาดตาอ่านจะทำได้ไม่ถนัด หากเขียนย่อหน้ายาวเกินไป

นอกจากนี้ คนสมัยนี้ไม่ค่อยอดทน เพราะฉะนั้น ต้องเขียนอะไรให้กระชับ ได้ใจความ และเมื่อต้องการจะเน้นให้สนใจ อาจขึ้นย่อหน้าใหม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีประเด็นใหม่

เทคนิคที่สี่ คือการทำโน้ตย่อ หรือ Short notes เป็นการบันทึกการสรุปใจความหลักเอาไว้ ประโยชน์ของการทำโน้ตย่อคือ วันหลังมาอ่านก็ไม่ต้องเสียเวลาสรุปความอีก เหมาะสำหรับย่อสรุปสิ่งที่มีความสำคัญ และต้องนำกลับมาใช้หรืออ้างอิงบ่อยๆ รวมถึงโน้ตไว้เพื่ออ่านสรุปก่อนสอบด้วย หากทำโน้ตย่อได้ทุกวิชาที่เรียน รับประกันว่าสอบได้คะแนนดีแน่ๆ ดิฉันทำตลอดเวลาที่เรียนค่ะ โดยเฉพาะวิชาที่มีประเด็นมากๆ จำไม่ไหว

การทำโน้ตย่อ นอกจากจะเป็นการฝึกฝนการย่อความ จับใจความของเรา ซึ่งทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในการเขียนด้วยค่ะ คือพอฝึกทำ “จากยาวให้เป็นสั้น” เวลาเขียนหนังสือหรือบทความ เราอาจสรุปประเด็นที่จะนำเสนอ ด้วยการทำโน้ตย่อและหัวเรื่องย่อหรือ outline ก่อน แล้วจึงนำมาเขียนฉบับเต็ม หรือ “ทำสั้นให้เป็นยาว” ในภายหลัง

ผลพลอยได้ก็คือ สามารถนำมาใช้เป็นประเด็นย่อสำหรับการพูดได้อีกด้วย ดิฉันทำเป็นประจำ เวลาได้รับเชิญให้ไปพูด ต้องทำหัวข้อไว้ก่อน แม้ว่าจะไม่ได้นำไปขึ้นจอฉายก็ตาม แต่ทำเพื่อให้ตัวเองรวบรวมประเด็นที่จะพูดได้ครบและ ผู้ฟังได้ประโยชน์ครบถ้วน

ทีนี้ จับใจความหรือประเด็นได้ครบถ้วนแล้วยังไม่พอ ต้องทำได้เร็วด้วย ใช้เวลาจับประเด็นเป็นวันๆ ก็ไม่เหลือเวลาทำอย่างอื่น และฝรั่งเขาค้นพบว่า การอ่านให้เร็ว จะจับประเด็นได้ดีกว่าการอ่านช้าค่ะ สำหรับดิฉันแล้ว เรื่องนี้จริงทีเดียว หากอ่านช้า หรือมีคนพูดช้าๆ ให้ฟัง สมองเราจะมีเวลาแวบไปคิดเรื่องอื่น แต่ถ้าหากอ่านเร็ว หรือมีคนพูดเร็วให้ต้องตั้งใจฟัง สมองจะไม่มีช่องว่างให้ความคิดอื่นแทรกเข้ามา ทำให้วอกแวกเสียสมาธิได้ค่ะ

มีแบบฝึกหัดให้ลองฝึกอ่านจับใจความมากมาย ว่างๆ ท่านลองไปหาซื้อดู หรือฝึกผ่านเว็บไซต์ก็ได้ค่ะ มีทั้งที่ทดสอบฟรีและที่ต้องเสียเงิน

วิธีอ่านเร็วคือ ไม่ต้องอ่านทุกคำค่ะ มองหาคำหลักๆ ซึ่งมักจะเป็นคำนาม และกิริยา และมองหาชื่อเฉพาะ สำหรับเรื่องที่เป็นเรื่องการเงิน ก็ต้องมองหาตัวเลข สถิติต่างๆ เพื่อจับประเด็นให้ได้

การอ่านจับใจความจะแตกต่างจากการอ่านหาข้อมูลนิดหน่อย การอ่านหาข้อมูล ตาเราจะทำหน้าที่เหมือนเครื่องสแกน มองหาคำหลักๆ ที่เป็นกุญแจนำไปสู่เรื่องนั้นๆ เช่น ถ้าจะค้นคว้าเรื่อง อัตราค่าครองชีพในเมืองต่างๆ เราก็จะมองหาชื่อเมือง ไปพร้อมๆ กับตัวเลขค่าครองชีพ วิธีที่ง่ายคือการค้นหาจากตารางต่างๆ ที่สำคัญต้องสามารถเปรียบเทียบกันได้ด้วย ดังนั้น แม้ว่าจะมีความคล้ายกัน แต่การอ่านหาข้อมูลจะง่ายกว่าการอ่านจับใจความ

หวังว่าจะได้ประโยชน์ สามารถใช้เป็นแนวทางในการฝึกหัดได้บ้างนะคะ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นทักษะ หมายความว่าต้องฝึกฝน ยิ่งทำยิ่งเก่ง เพราะฉะนั้น ใครอยากจับประเด็นได้ดีต้องฝึกทำเยอะๆ ค่ะ พอจับประเด็นจากการอ่านได้ดีแล้ว การจับประเด็นจากการฟังก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

คอลัมน์ MoneyPro
กรุงเทพธุรกิจ, 16 เมษายน 2556
 

.................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น